วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การทอ
การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก คือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืน แล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการ

ลวดลาย

ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้าง ที่แตกต่างกันก็มี ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวนหรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียกปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า)
ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่น ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอนั่นเอง ลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ในผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลาย

ลายผ้า

การเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้ง ลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจกลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมอง

สีที่ใช้

ผ้าแพรวาของชาวผู้ไทแต่เดิมนั้น มีโทนสีเป็นสีแดงคล้ำ หรือสีปูน เป็นหลัก[ต้องการอ้างอิง]
ผ้าแพรวาที่ทอในปัจจุบันมีสองลักษณะ คือผ้าหน้าแคบขนาดแพรวาแบบเดิม (ผลิตน้อย) กับขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 เมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ

การทอในปัจจุบัน

การทอผ้าแพรวาปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้มีการสืบทอดศิลปะการทอผ้าแพรวาแพร่หลายมากขึ้น จึงมีความพยายามผลิตผ้าให้ผู้คนได้ซื้อหลากหลายทั้งในด้านลวดลาย สีสัน และยังใช้วิธียกเขา เพื่อความรวดเร็ว แทนที่จะใช้นิ้วยกด้ายสอดเช่นเดิม ความประณีตของลวดลายจึงลดลงไป เนื่องจากการยกเขานั้นเหมือนการทำพิมพ์ที่จะต้องปรากฏลายซ้ำๆ เป็นช่วงๆ
ความสวยงามของผ้านั้นอยู่ที่ความประณีตของการทอ ความสม่ำเสมอของลวดลาย ไม่หลุดตกบกพร่อง หรือขาด หากทอด้วยมือทั้งผืน ความสม่ำเสมอของลวดลายจะน้อยกว่าการใช้เขาเก็บลาย แต่ลวดลายจะมีความอ่อนช้อย แน่น ไม่โปร่ง ด้านหลังของผ้ามีความเป็นระเบียบ ไม่โยงเส้นด้ายยาวเกินไป และใช้สีสันที่หลากหลายกว่า
ปัจจุบันมีการส่งเสริมการทอผ้าแพรวาในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ หลายแห่งในภาคอีสาน โดยใช้เส้นไหมจากโรงงานแหล่งผลิต
แหล่งผลิตผ้าแพรวาที่สำคัญ คือ ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนั้นยังมีที่ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร และโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอื่นๆ ในแถบจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย และมุกดาหาร

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2
ประวัติผ้าไหมไทย :::
..........ไหมเป็นแมลงประเภทผีเสื้อตัวหนอนไหมกินพืชได้หลายชนิด แต่ชอบกินใบหม่อนมากที่สุด ทว่าหม่อนจัดเป็นพืชยืนต้นซึ่งเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่เลี้ยงไหม จึงมักปลูกสวนหม่อนควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ เชื่อกันว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงไหมเป็นครั้งแรก ในประเทศจีนเมื่อประมาณ5,000ปีมาแล้ว วงจรชีวิตของไหมประกอบด้วย ระยะที่เป็นไข่ระยะตัวหนอนระยะดักแด้ และระยะผีเสื้อคุณสมบัติพิเศษของตัวไหมคือ ช่วงระะยะซึ่งเป็นดักแด้ ตัวหนอนจะสร้างรังไหมห่อหุ้มตัวเอง และรังไหมนี่เองที่สามารถสาวออกมาเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆ ซึ่งมีความเหนียว และเป็นมันวาวสวยงาม เหมาะต่อการนำไปทอเป็นผืนผ้าพันธุ์ไหม ในประเทศไทยที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. ไหมพันธุ์ไทย เป็นไหมพื้นเมือง ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อใช้ทอผ้าไหมพื้นบ้าน รังไหมของไหมพันธุ์ไทยสีออกเหลืองตุ่น มีขนาดเล็ก หัว ท้ายแหลม
คล้ายกระสวยให้ผลผลิตต่ำ เส้นไหมมีขนาดโต แต่ก็ความแข็งแรงเหนียวแน่น

2. ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับไหมพันธุ์ต่างประเทศ รังไหมพันธุ์นี้มีสีเหลืองสด ขนาดใหญ่ ให้ผล
ผลิตสูงกว่าไหมพันธุ์ไทย และเส้นใยมีขนาดเล็กกว่าไหมพื้นเมือง

3. ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมจากการผสมระหว่างพันธุ์ญี่ปุ่นและพันธุ์จีน รังไหมมีสีขาว ขนาดใหญ่ ลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่
เปลือกรังหนา ให้ผลผลิตสูง เส้นใยละเอียดเหนียวแน่น นิยมเลี้ยงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังโรงงานสาวไหม.














ที่มา: http://58.136.118.60/student_web/1_49/thaisilk/tip.htmlhttp://58.136.118.60/student_web/1_49/thaisilk/tip.html


แฟชั่นผ้าไหมไทย


แฟชั่นโชว์ชุดผ้าไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งชุดกลางวัน 10 ชุด ออกแบบโดยห้องเสื้อจักรรัตน์ และชุดราตรี 10 ชุด จากห้องเสื้อเซอร์เฟซ โดยทุกชุดที่นำมาแสดงใช้ผลิตภัณฑ์ของร้านศิลปาชีพมาตัดเย็บทั้งหมด เริ่มต้นด้วยชุดกลางวันสไตล์สาวทำงานที่เน้นสีสันสดใส และมีการผสมผสานผ้าหลายชนิด อาทิ ไหมลาย, ไหมปัก และผ้าทอชาวเขา ซึ่งใช้การต่อผ้า และใช้ผ้ากุ๊นสีเพื่อเสริมลวดลายของชุดให้ทันสมัยขึ้น ตามมาด้วยชุดราตรีที่ดูสง่า กรุยกราย สะท้อนถึงความสวยหวาน และเซ็กซี่ของผู้หญิง โดยการตัดเย็บเน้นการใช้ไหมแก้ว และผ้าไหมที่มีความมันวาวของเนื้อผ้า เสริมแต่งด้วยการปักลูกไม้และการปักเลื่อมให้เสื้อผ้าดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย
  • แฟชั่นผ้าไหมไทย

ที่มา: http://women.sanook.com/http://women.sanook.com/